วันอังคาร, 15 กรกฎาคม 2568

จังหวัดสงขลา จัดพิธีรับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสายสะพาย ประจำปี 2565 และประจำปี 2566 ให้แก่ข้าราชการและข้าราชการบำนาญในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข จำนวน 30 ราย

21 มี.ค. 2024
67

เช้าวันนี้ (21 มี.ค. 67) นายสมนึก พรหมเขียว ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา เป็นประธานในพิธีรับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสายสะพาย ประจำปี 2565 และประจำปี 2566 เบื้องหน้าพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแก่ข้าราชการ และข้าราชการบำนาญในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข จังหวัดสงขลา ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ชั้นประถมาภรณ์ช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ชั้นประถมาภรณ์มงกุฎไทย จำนวน 30 ราย โดยมีนายแพทย์สงกรานต์ ไหมชุม นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสงขลา พร้อมด้วย หัวหน้าส่วนราชการ ข้าราชการ และผู้เข้ารับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสายสะพายเข้าร่วม ณ ห้องประชุม ชั้น 3 โรงแรมกรีนเวิลด์ พาเลซ สงขลา อำเภอเมืองสงขลา

โอกาสนี้ นายสมนึก พรหมเขียว ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา จุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัยและถวายความเคารพพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จากนั้น ผู้เข้ารับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เข้ารับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์เบื้องหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จนเมื่อการเข้ารับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์แล้วเสร็จ ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ได้กล่าวให้โอวาท พร้อมนำผู้เข้าร่วมพิธีถวายความเคารพพระบรมฉายาลักษณ์ฯ และบันทึกภาพร่วมกัน เป็นอันเสร็จพิธี

สำหรับในปี 2565 และ 2566 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา และ โรงพยาบาลจิตเวชสงขลาราชนครินทร์ มีข้าราชการ และข้าราชการบำนาญที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสายสะพาย จำนวน 39 ราย โดยมีผู้แจ้งความประสงค์เข้ารับพระราชทาน รวมจำนวนทั้งสิ้น 30 ราย ประกอบด้วย ผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ชั้นประถมาภรณ์ช้างเผือก จำนวน 1 ราย และชั้นประถมาภรณ์มงกุฎไทย จำนวน 29 ราย

จังหวัดสงขลา จัดพิธีรับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสายสะพาย ประจำปี 2565 และประจำปี 2566 ให้แก่ข้าราชการในสังกัดกระทรวงมหาดไทย จำนวน 52 ราย

06 ธ.ค. 2023
65

วันนี้ (6 ธ.ค. 66) นายสมนึก พรหมเขียว ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา เป็นประธานในพิธีรับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสายสะพาย ประจำปี 2565 และประจำปี 2566 เบื้องหน้าพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แก่ข้าราชการในสังกัดกระทรวงมหาดไทย จังหวัดสงขลา ที่ได้รับพระราชทาน เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ชั้นประถมาภรณ์ช้างเผือก และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ชั้นประถมาภรณ์มงกุฎไทย จำนวน 52 ราย โดยมีนายเศวต เพชรนุ้ย ปลัดจังหวัดสงขลา นางสาวดุษฎี พฤกษเศรษฐ หัวหน้าสำนักงานจังหวัดสงขลา หัวหน้าส่วนราชการ ผู้เข้ารับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสายสะพายและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องร่วมในพิธี ณ หอประชุมจังหวัดสงขลา

โอกาสนี้ นายสมนึก พรหมเขียว ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา จุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัยและถวายความเคารพพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จากนั้นผู้เข้ารับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เข้ารับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์หน้าพระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จนเมื่อการเข้ารับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์แล้วเสร็จ ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา พร้อมด้วยผู้เข้าร่วมพิธีถวายความเคารพพระบรมฉายาลักษณ์ฯ และบันทึกภาพร่วมกัน เป็นอันเสร็จพิธี

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสายสะพาย ประจำปี 2565 และประจำปี 2566 เนื่องในโอกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ 28 กรกฎาคม 2566 โดยได้มีการประกาศรายชื่อผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ในราชกิจจานุเบกษาแล้ว และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้จัดพิธีรับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ หน้าพระบรมฉายาลักษณ์ในสถานที่ที่เหมาะสม

กระทรวงมหาดไทย ได้กําหนดให้จังหวัด จัดพิธีรับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ชั้นประถมา ภรณ์ช้างเผือก และชั้นประถมาภรณ์มงกุฎไทย ให้แก่ผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่ในส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น โดยในปี พ.ศ. 2565 มีผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ชั้นประถมาภรณ์มงกุฎไทย จำนวน 15 ราย และในปี พ.ศ. 2566 ผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ชั้นประถมาภรณ์ช้างเผือก จำนวน 11 ราย และชั้นประถมาภรณ์มงกุฎไทย ในปี จำนวน 26 ราย รวมจำนวนทั้งสิ้น 52 ราย

จังหวัดสงขลา จัดพิธีรับพระราชทานเข็มเครื่องหมายกรรมการมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เนื่องในโอกาสครบ 60 ปี วันพระราชทานกำเนิดมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

30 ส.ค. 2023
85

วันนี้ (30 ส.ค.66) เวลา 09.00 น. ที่ห้องโถง ชั้น 1 ศาลากลางจังหวัดสงขลา นายเจษฎา จิตรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ในฐานะประธานกรรมการมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ประจำจังหวัดสงขลา เป็นประธานในพิธีรับพระราชทานเข็มเครื่องหมายกรรมการมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เนื่องในโอกาสครบ 60 ปี วันพระราชทานกำเนิดมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ แก่คณะกรรมการมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ประจำจังหวัด ได้แก่ ปลัดจังหวัด พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัด และนายอำเภอ 16 อำเภอ

ตามที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ ประธานกรรมการมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ประจำจังหวัด เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท รับพระราชทานเข็มเครื่องหมายประธานกรรมการมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ประจำจังหวัด และผู้แทนรับพระราชทานเข็มเครื่องหมายกรรมการ มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ เนื่องในโอกาสครบ 60 ปี วันพระราชทานกำเนิดมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชปถัมภ์ ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2566 ที่ผ่านมา จังหวัดสงขลาจึงจัดพิธีพระราชทานเข็มมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ฯ แก่คณะกรรมการมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ประจำจังหวัด จำนวน 20 ราย

มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชปถัมภ์ ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2505 จากเหตุการณ์วาตภัยพายุโซนร้อนแฮเรียต ที่พัดเข้าทางพื้นที่แหลมตะลุมพุก อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช ความแรงของพายุทำให้เกิดความเสียหายแก่บ้านเรือนของประชาชนและประชาชนจำนวนมากต้องกลายเป็นผู้ประสบภัย ได้รับความเดือดร้อนและได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าว เมื่อความทรงทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สถานีวิทยุ อ.ส. ออกประกาศเชิญชวนผู้มีจิตศรัทธาบริจาคทรัพย์และสิ่งของ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยดังกล่าว และพระราชทานเงินแก่กระทรวงศึกษาธิการ เพื่อนำไปสร้างโรงเรียนประชาบาล

ทั้งนี้เพื่อให้เด็กและเยาวชนได้มีสถานที่ศึกษา และพระราชทานชื่อในภายหลังว่าโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ เมื่อได้นำเงินบริจาคช่วยเหลือประชาชนในระยะแรก แล้วยังคงเหลือเงินอีก 3 ล้านบาท พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร จึงพระราชทานเงินดังกล่าว เป็นทุนประเดิมก่อตั้งมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ในพระบรมราชูปถัมภ์ และจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2506 โดยชื่อพระราชทานของมูลนิธิ ฯ มีความหมายว่า “พระราชา” และ “ประชาชน” อนุเคราะห์ซึ่งกันและกัน