วันอังคาร, 22 กรกฎาคม 2568

ผู้บริหารและนักกีฬาวอลเล่ย์บอลจากประเทศอเมริกา เยี่ยมชมชุมชนท่องเที่ยวเกาะยอ

04 ก.พ. 2024
51

เมื่อวันที่ 2 ก.พ.67 ทีมผู้บริหารและนักกีฬาวอลเล่ย์บอลจากประเทศอเมริกา Sport for social change project เดินทางมายังพื้นที่ชุมชนเกาะยอ ต.เกาะยอ อ.เมือง จ.สงขลา เพื่อเยี่ยมชมและสัมผัสวิถีชุมชนท่องเที่ยวเกาะยอ โดยมีนางสุนิสา รามแก้ว ประชาสัมพันธ์จังหวัดสงขลา พร้อมด้วย คุณวรรณกนก เปาะอิแตดาโอ๊ะ นายกสมาคม กลุ่มลูกเหรียง และ เจ้าหน้าที่ จาก อบต.เกาะยอ เป็นผู้นำทีม และ ให้ข้อมูลแหล่งชุมชนท่องเที่ยว ในเกาะยอ โดยบรรยากาศเป็นไปด้วยความสนุกสนาน

โดยครั้งนี้คณะ ฯ ได้เรียนรู้ชุมชนเข้มแข็ง จ.สงขลา และเส้นทางท่องเที่ยวชุมชนโดยทางเจ้าภาพ ได้พาคณะฯ เยี่ยมชมวัดแหลมพ้อชมวัดพระนอนที่ใหญ่ที่สุด วัดโคกเปี้ยว พบกลุ่มทอผ้าพื้นเมืองร่มไทร และชมกิจการแปรรูปผ้าพื้นเมือง โดยสามเณร ชิมไอศกรีม และเค้กจากจำปาดะ เยี่ยมชมวัดท้ายยอ (พ.ศ.2311) ชมกุฏิโบราณ พระหยก ซึ่งได้สร้างความประทับใจให่กับคณะเป็นอย่างยิ่ง

สำหรับเกาะยอ เป็นเกาะที่ตั้งอยู่บน ทะเลสาบสงขลา อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา พื้นที่เป็นแผ่นดินกว่า 9,375 ไร่ ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นพื้นที่ของภูเขาสลับกับเนินสูง ชาวบ้านส่วนใหญ่จะมีเชื้อสายจีน ทำอาชีพเกษตรกรรมและประมง ซึ่งสินค้าที่มีชื่อเสียงของที่นี่ คือ ผ้าทอเกาะยอ ที่มีลวดลายเป็นเอกลักษณ์ เช่น ลายราชวัตถ์ เกาะยอ ถือว่าเป็นชุมชนที่มีความเข้มแข็ง และค่อนข้างมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว จัดว่าเป็นหนึ่งในแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของจังหวัดสงขลาซึ่งนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ที่มาเที่ยวบน เกาะยอ นั้น จะได้เรียนรู้การทำ สวนผลไม้แบบสุมรุม หรือ สวนสมรม ที่เป็นการปลูกผลไม้หลายชนิดรวมอยู่ภายในสวนเดียว ซึ่งผลไม้ของที่นี่จะผลัดกันให้ผลผลิตตลอดทั้งปีมีทั้ง ส้มโอ มะพร้าว ขนุน และ จำปาดะ ซึ่งเป็นผลไม้ที่มีชื่อของเกาะยอนั่นเอง

ผู้บริหารและนักกีฬาวอลเล่ย์บอลจากประเทศอเมริกา เยี่ยมชมเมืองเก่าสงขลา

01 ก.พ. 2024
46

ผู้บริหารและนักกีฬาวอลเล่ย์บอลจากประเทศอเมริกา เยี่ยมชมเมืองเก่าสงขลา พร้อมลงไปสัมผัสวิถีชีวิตการอยู่ร่วมกันของพหุวัฒนธรรมไทยพุทธ มุสลิม และจีน ที่มีการผลักดันให้ก้าวสู่การเป็นเมืองมรดกโลก

วันนี้ (31 ม.ค. 67) ทีมผู้บริหารและนักกีฬาวอลเล่ย์บอลจากประเทศอเมริกา Sport for social change project เดินทางมายังพื้นที่อำเภอเมืองสงขลา และอำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา เยี่ยมชมประวัติความเป็นมาของเมืองเก่าสงขลา พร้อมลงไปสัมผัสวิถีชีวิตการอยู่ร่วมกันของพหุวัฒนธรรมไทยพุทธ มุสลิม และจีน ที่กำลังเดินหน้าผลักดันเพื่อก้าวสู่การเป็นเมืองมรดกโลก โดยมีนางสุนิสา รามแก้ว ประชาสัมพันธ์จังหวัดสงขลา พร้อมด้วยอาจารย์วุฒิชัย เพชรสุวรรณ กรรมการวิชาการภาคีคนรักเมืองสงขลาสมาคม คุณวรรณกนก เปาะอิแตดาโอ๊ะ นายกสมาคม กลุ่มลูกเหรียง เป็นผู้นำทีมและบรรยายให้ความรู้

สำหรับเมืองซิงฆอรา (Singora) หรือ สิงขระนคร ถือเป็นเมืองโบราณที่หลายคนคุ้นชื่อของจังหวัดสงขลาถ้าย้อนไปไกลกว่านั้น สงขลามีบันทึกหลักฐานว่า ที่ตำบลหัวเขา อำเภอสิงหนคร คือที่ตั้งของเมือง “ซิงฆอรา” ซิงฆอรา เติบโตผ่านกาลเวลามาอย่างยาวนานยุคสมัยเมืองสงขลาฝั่งหัวเขาแดง ราวก่อนพุทธศตวรรษที่ 22 ซึ่งที่นี่ชื่อเรียกเมือง ซิงกูร์ ซิงฆอรา สิงหลาหรือสิงขร ปรากฏในบันทึกของต่างชาติที่เข้ามาค้าขายบริเวณนี้ ซึ่งความหมายมีทั้งแปลว่า เมืองสิงห์และสิงขรหรือภูเขาที่ตั้งอยู่บริเวณเชิงเขาแดง

ซิงฆอรา เติบโตผ่านกาลเวลามาอย่างยาวนานยุคสมัยเมืองสงขลาฝั่งหัวเขาแดง ราวก่อนพุทธศตวรรษที่ 22 – ปลายพุทธศตวรรษที่ 23 การก่อตั้งเมืองเมืองสงขลาริมเขาแดงปากทะเลสาบสงขลา โดยชาวชาวมุสลิมชื่อ ดาโต๊ะ โมกอลล์ (เคยปกครองเมืองสาเรย์ เมืองลูกของจาร์กาตาร์ ประเทศอินโดนีเซีย) ที่อพยพครอบครัวและบริวารอพยพมาจากการถูกล่าเมืองขึ้น ลงเรือสำเภามาขึ้นฝั่งที่บริเวณบ้านหัวเขา