




วันที่ 14 มีนาคม 2568 นายทรงพล จังศิริวัฒนธำรง ประธานหอการค้าจังหวัดสงขลา มอบหมาย นางสาวพิชาวีร์ ธีระพันธ์วดี กรรมการรองเลขาธิการหอการค้าจังหวัดสงขลา ร่วมเป็นเกียรติในพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจพันธกิจความร่วมมือ MOU โครงการวิจัย “การพัฒนาเครือข่ายและเขตพื้นที่นวัตกรรมอาหารสู่การสร้างสรรค์ระดับภูมิภาค : ศูนย์กลางบูรณาการสำหรับการออกแบบประสบการณ์วัฒนธรรมด้านอาหารระดับพรีเมี่ยม พร้อมเปิดศูนย์ Songkhla Gastronomy Network ซึ่งจัดขึ้นระหว่างมหาวิทยาลัยหาดใหญ่ กับ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสงขลา อำเภอบางกล่ำ เทศบาลตำบลบ้านหาร เทศบาลตำบลท่าช้าง องค์การบริหารส่วนตำบลบางกล่ำ และองค์การบริหารส่วนตำบลแม่ทอม โดยได้รับเกียรติจาก นายสังคม เกิดก่อ รองรองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา เป็นประธานในพิธี ณ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
เมื่อวันเสาร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ณ ห้อง BSc3 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย ภายใต้เครือข่ายมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เพื่อพัฒนาและขยายเครือข่ายโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการในพื้นที่ภาคใต้เพิ่มเติมอีก 28 โรงเรียน
พิธีลงนามได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิวัติ แก้วประดับ อธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ศาสตราจารย์ ดร.อัญชนา ประเทพ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ และผู้อำนวยการโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการร่วมลงนามในพิธี ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิวัติ แก้วประดับ อธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้กล่าวว่า “มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2511 ในช่วงของการเร่งรัดพัฒนาประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกระจายโอกาสทางการศึกษาในระดับอุดมศึกษาออกสู่ภูมิภาค และมีวิสัยทัศน์เป็นมหาวิทยาลัยแห่งคุณค่าเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืนระดับแนวหน้าของโลก ดำเนินตามพระราชปณิธานของพระราชบิดา ที่ว่า ‘ขอให้ถือผลประโยชน์ส่วนตัวเป็นที่สอง ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง’ มหาวิทยาลัยของเรามุ่งมั่นสร้างหลักสูตรเชิงบูรณาการที่ทันสมัย ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตและพัฒนาทักษะใหม่ รวมถึงเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านความเป็นนานาชาติ”
“มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เป็นแม่ข่ายของโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย และเชื่อมั่นว่าการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนต้องขับเคลื่อนด้วยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ครูผู้สอนต้องมีบทบาทสำคัญทั้งในการเป็นผู้เอื้ออำนวยความสะดวกและเป็นต้นแบบในการเรียนรู้ การพัฒนาคุณภาพครูจึงเป็นหัวใจสำคัญของการส่งเสริมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในระดับปฐมวัย ผมขอชื่นชมสถานศึกษาทุกแห่งที่มีความตั้งใจแน่วแน่ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาฐานรากให้เป็นรูปธรรม และขอขอบคุณทุกภาคส่วนที่ร่วมทำให้กิจกรรมในวันนี้เกิดขึ้น ขอให้ทุกท่านมีพลังกาย พลังใจที่แข็งแรง เพื่อร่วมกันพัฒนาการศึกษาของเราไปข้างหน้า ขอบคุณครับ”
ด้าน ศาสตราจารย์ ดร.อัญชนา ประเทพ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า “คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รู้สึกเป็นเกียรติและภาคภูมิใจที่ได้เห็นความร่วมมือจากหลายภาคส่วนในการส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีให้กับเด็กตั้งแต่ระดับปฐมวัย โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย ถือเป็นเครื่องมือสำคัญในการวางรากฐานทักษะการเรียนรู้ของเด็กในระยะยาว เพื่อเติบโตเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพของประเทศ โดยขับเคลื่อนผ่านเครือข่ายท้องถิ่นที่คำนึงถึงบริบทเฉพาะของแต่ละพื้นที่ เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าความร่วมมือครั้งนี้จะช่วยส่งเสริมศักยภาพทางวิทยาศาสตร์ให้กับเด็ก ๆ ในภูมิภาค และเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านการศึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้กับสถานศึกษาในภาคใต้”
โครงการ บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย เป็นโครงการที่สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาพระราชทานพระราชดำริให้ดำเนินการในประเทศไทย ภายหลังจากที่พระองค์ทอดพระเนตรตัวอย่างโครงการจากประเทศเยอรมนีเมื่อปี พ.ศ. 2552 โดยมีเป้าหมายในการพัฒนาองค์ความรู้และทักษะทางวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กระดับปฐมวัย (อายุ 3-6 ปี) ซึ่งเป็นช่วงวัยที่มีศักยภาพสูงสุดในการเรียนรู้งานวิจัยยืนยันว่า การปลูกฝังทัศนคติที่ดีต่อวิทยาศาสตร์ตั้งแต่ระดับปฐมวัยช่วยเสริมสร้างความสามารถในการคิดวิเคราะห์ กระบวนการเรียนรู้ และความเข้าใจในหลักการทางวิทยาศาสตร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โครงการนี้ได้รับการสนับสนุนอย่างดีจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ซึ่งการขยายเครือข่ายโรงเรียนในครั้งนี้นับเป็นอีกก้าวสำคัญในการส่งเสริมการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กไทยทั่วประเทศ
วันที่ 11 ก.พ. 68 เวลา 09.00 น. นายเอก ยังอภัย ณ สงขลา นายอำเภอหาดใหญ่ เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) และประกาศวาระ ตำบลเข้มแข็งตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยมีผู้นำศาสนา นางบุญฑิตยา แก้วมัน พัฒนาการอำเภอ ผู้แทนหัวหน้าส่วนราชการระดับอำเภอ นางสาวพลอยนภัส อัครแก้วห่อทอง ปลัดอำเภอประจำตำบลท่าข้าม ผู้บริหารสถานศึกษาในพื้นที่ เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนอำเภอ นายสินธพ อินทรัตน์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลท่าข้าม คณะผู้บริหารและบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลท่าข้าม ผู้นำท้องที่ และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมฯ ณ ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลท่าข้าม ชั้น 2 ตำบลท่าข้าม อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ซึ่งพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) และประกาศวาระ ตำบลเข้มแข็งตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากให้มีความมั่นคง และส่งเสริมให้ผู้นำ กลุ่ม องค์กร ภาคีเครือข่าย และประชาชนได้เรียนรู้และน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิต และนำมาปรับใช้ในการขับเคลื่อนตำบลเข้มแข็ง ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ให้มีความเข้มแข็งทั้ง 3 มิติ (ด้านความมั่นคง ด้านความมั่งคั่ง และด้านความยั่งยืน) และในการขับเคลื่อนงานพัฒนาชุมชน โดยโครงการตำบลเข้มแข็งตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจเพียง ใช้พื้นที่ตำบลเป็นฐานในการพัฒนา ภายใต้กลไกเครือข่ายผู้นำการเปลี่ยนแปลงระดับตำบล และกลไก 7 ภาคี โดยกำหนดตำบลท่าข้ามเป็นพื้นที่เป้าหมายในการขับเคลื่อนงาน
วันที่ 16 ม.ค. 68 เวลา 14.00 น. นายเอก ยังอภัย ณ สงขลา นายอำเภอหาดใหญ่ เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงและความร่วมมือในการวิจัยและพัฒนากัญชาทางการแพทย์ โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.ณฐพงศ์ จิตรนิรัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยทักษิณ Prof. Dato Indera Ir Dr. Lee Sze Wei อธิการบดี Tunku Abdul Rahman University of Management & Technology (Malaysia) คุณ Dato Vincent How นางสาวนฤมล ขวัญแก้ว กรรมการบริษัท คานนามา อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ ผู้แทนหน่วยงานภาคเอกชน และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมฯ ณ ห้องประชุม ชั้น 8 อาคารหอประชุมนิวซีซัน ห้องดุสิตา โรงแรมนิวซีซัน สแควร์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ซึ่งพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงและความร่วมมือฯ จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านการศึกษา การวิจัย และการแลกเปลี่ยนความรู้ โดยเน้นพืชกัญชาและนวัตกรรมที่เกี่ยวข้อง กัญชาจัดเป็นสมุนไพรที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายทางการแพทย์ การใช้กัญชาในทางการแพทย์ของไทยยังมีช่องทางที่จะพัฒนาต่อยอดได้อีกมาก เพื่อจะได้มีการวิเคราะห์/วิจัยเพิ่มเติมในสารอื่น ๆ ที่เป็นส่วนประกอบสำคัญของกัญชา และการสกัดสารที่มีสรรพคุณทางยาเพื่อนำไปวิจัยในการนำไปใช้เพื่อผลการรักษาในทางการแพทย์ในอนาคต
วันที่ 7 พฤษภาคม 2567 นายทรงพล จังศิริวัฒนธำรง ประธานหอการค้าจังหวัดสงขลา มอบหมาย นางสาวจิตจัณ สาระวิโรจน์ รองประธานฯ ร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการระหว่างสถาบันอาชีวศึกษาภาคใต้ 3 กับ สถาบันการศึกษา หน่วยงานภาครัฐและเอกชนและสถานประกอบการ ณ หอประชุมวิทยาลัยเทคนิคหาดใหญ่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา
เมื่อวันพุธที่ 29 พฤศจิกายน 2566 นายทวีศักดิ์ ทวีรัตน์ นายกเทศมนตรีเมืองคอหงส์ พร้อมด้วย คณะผู้บริหารฯ ปลัดเทศบาล รองปลัดเทศบาล ผู้อำนวยการกอง ร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) โครงการดูแลสุขภาพผู้ประกันตนเชิงรุกฯ ในสถานประกอบการ ระหว่าง เทศบาลเมืองคอหงส์ สำนักงานประกันสังคมจังหวัดสงขลา และ โรงพยาบาลศิครินทร์ โดย นายทวีศักดิ์ ทวีรัตน์ นายกเทศมนตรีเมืองคอหงส์ ได้กล่าวถึงที่มาของความร่วมมือในครั้งนี้
วันนี้ (30 พ.ย. 66) เวลา 13.30 น. ณ ห้องประชุมอาคารศูนย์วิทยุกู้ภัยจังหวัดสงขลา มูลนิธิมิตรภาพสามัคคี (ท่งเซียเซี่ยงตึ๊ง) หาดใหญ่ คุณอรุณชัย ศิริมหาชัย ประธานกรรมการมูลนิธิมิตรภาพสามัคคี (ท่งเซียเซี่ยงตึ๊ง) หาดใหญ่ คุณกฤษณ์ อารยานุมาศ รองประธานฯ คุณนิพัขร ชีววัฒนาพงศ์ รองประธานฯ คุณแสง ชัยจีระธิกุล รองประธานฯ คุณภูชิชญ์ ยงเกียรติไพบูลย์ เลขานุการไทยฯ นายแพทย์สุภาพ ไพศาลศิลป์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมิตรภาพสามัคคี พร้อมด้วยคณะแพทย์ พยาบาลและบุคลากร ได้ร่วมในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ระหว่างโรงพยาบาลมิตรภาพสามัคคี-มูลนิธิท่งเซียเซี่ยงตึ๊ง กับร้านขนมบ้านโกไข่ โดยคุณพรศักดิ์ ตั้งคำ กรรมการผู้จัดการบริษัท ขนมบ้านโกไข่ จำกัด
พิธีลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ระหว่างโรงพยาบาลมิตรภาพสามัคคี-มูลนิธิท่งเซียเซี่ยงตึ๊ง กับ ร้านบ้านขนมบ้านโกไข่ในครั้งนี้ เป็นการเล็งเห็นความสำคัญของผู้มาใช้บริการโรงพยาบาลมิตรภาพสามัคคี จึงได้มีโครงการมอบคูปองแทนคำขอบคุณ (For Thank You) สำหรับผู้ป่วยที่มานอนพักรักษากับโรงพยาบาลฯ จึงได้ทำข้อตกลงความร่วมมือกันกับร้านขนมบ้านโกไข่ ซึ่งเป็นธุรกิจที่รู้จักกันดีและมีชื่อเสียงของคนในท้องถิ่น โดยให้ผู้ใช้บริการสามารถนำคูปองไปใช้บริการกับร้านขนมบ้านโกไข่ เพื่อแลกซื้อขนม กาแฟ ได้ทุกสาขา ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2566 – 31 ธันวาคม 2567