วันศุกร์, 18 กรกฎาคม 2568

มหาวิทยาลัยทักษิณ เปิดเวที “Southern Innovation Festival 2025”

18 ก.ค. 2025
18

มหาวิทยาลัยทักษิณ เปิดเวที “Southern Innovation Festival 2025” ผนึกกำลังวิจัย สิ่งประดิษฐ์ วัฒนธรรม และการจัดการภัยพิบัติ ร่วมขับเคลื่อนนวัตกรรมภาคใต้

เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2568 สถาบันวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยทักษิณ จัดพิธีเปิด “เทศกาลวิจัยและนวัตกรรมแห่งภาคใต้” หรือ “Southern Innovation Festival 2025” อย่างเป็นทางการ ณ หอเปรมดนตรี มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.ณฐพงศ์ จิตรนิรัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยทักษิณ กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมงานกว่า 3,000 คนจากทั้งในประเทศและต่างประเทศ พร้อมด้วย คุณวราพรรณ ชัยชนะศิริ รองอธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม และ ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ร่วมกล่าวเปิดงานอย่างเป็นทางการ

ภายในงานเปิดเวทีสำคัญในการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และนวัตกรรมผ่าน 4 กิจกรรมหลัก

มหกรรมนวัตกรรมจากผลงานวิจัยภาคใต้และการประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม : Southern Innovation Fair 2025

โครงการเผยแพร่มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมเพื่อสร้างความตระหนักรู้สู่การพัฒนานวัตกรรมที่ยั่งยืน

การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยทักษิณ ครั้งที่ 36 ประจำปี 2568

การประชุมวิชาการนานาชาติด้านการจัดการภัยพิบัติ ICDRM2025

กิจกรรมเริ่มด้วยการแสดงชุด “Glocalization : สงขลามหานคร จากรากสู่โลก” โดยนิสิตคณะศิลปกรรมศาสตร์ และการเดินแบบชุดไทยมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม เพื่อเตรียมเสนอให้ยูเนสโกพิจารณาเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม

ภาคพิธีการช่วงเช้า มีกิจกรรมมากมายไม่ว่าจะเป็น
พิธีมอบเกียรติบัตรเชิดชูเกียรตินักวิจัยและสิ่งประดิษฐ์ที่สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศ
การปาฐกถาพิเศษ “พลังนวัตกรรมไทย: พลิกโฉมสู่เวทีโลก” โดย ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง
การบรรยายพิเศษจากวิทยากรต่างประเทศ ได้แก่
• Prof. Dr. Alice Yuen Loke จาก Hong Kong Polytechnic University
• Prof. Dr. Joanne Langan จาก Saint Louis University ประเทศสหรัฐอเมริกา
ช่วงบ่าย กิจกรรมเข้มข้นด้วยเนื้อหาหลากหลายครอบคลุมทุกมิติของการพัฒนานวัตกรรม
เวทีบ่มเพาะนักนวัตกรรม : “การพัฒนาสมรรถนะบุคลากรด้านสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมสู่การเป็น Innovation Coaching”
วิทยากรโดย
ศาสตราจารย์ ดร.ผดุงศักดิ์ รัตนเดโช จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ออนไลน์)
ศาสตราจารย์ ดร.สนอง เอกสิทธิ์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ออนไซต์)
 กิจกรรม Young Smart : “Research to Utilization Grooming Exchange”
บ่มเพาะทักษะ Design Thinking เพื่อพัฒนาโจทย์วิจัยสู่เชิงพาณิชย์
โดย รองศาสตราจารย์ ดร.อนรรฆ ขันธะชวนะ จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
 เวทีจัดแสดงและประกวดผลงานสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม “Southern Inventors Award 2025”
เปิดเวทีให้นักเรียน นักศึกษา และอาชีวศึกษา แสดงผลงานสร้างสรรค์สู่เวทีแข่งขันระดับภูมิภาค
 การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยทักษิณ ครั้งที่ 36
นำเสนอผลงานวิจัยภาคบรรยายและภาคโปสเตอร์ ในหลากหลายสาขาวิชา อาทิ วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ การศึกษา มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และเศรษฐศาสตร์
 การประชุมวิชาการนานาชาติ “The 1st International Conference on Disaster Risk Management (ICDRM2025)”
เปิดเวทีนำเสนอผลงานและนิทรรศการเทคโนโลยีด้านการจัดการภัยพิบัติ
หัวข้อการประชุมหลากหลาย อาทิ
การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ
นวัตกรรมและเทคโนโลยีสำหรับการเตรียมพร้อมและเตือนภัยล่วงหน้า
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการฟื้นฟูอย่างยั่งยืน
การบริหารจัดการและการบูรณาการนโยบายร่วมหลายภาคส่วน
 เวทีเสวนา “การส่งเสริมและอนุรักษ์ชุดไทยสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน”
ผู้ร่วมเสวนา
นางสาวิตรี สุวรรณสถิตย์ ที่ปรึกษากระทรวงวัฒนธรรม
นางพนิดา ฐปนางกูร รักษาการแทนผู้อำนวยการสถาบันทักษิณคดีศึกษา
นายมารตุร์ เกื้อเกตุ ดีไซน์เนอร์ชื่อดัง
ดำเนินรายการโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เทียมสูรย์ สิริศรีศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
พร้อมกิจกรรมระดมความคิดเห็นจาก 3 กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ เยาวชน ภาครัฐและเอกชน และผู้ผลิตผู้ออกแบบ
อธิการบดีมหาวิทยาลัยทักษิณ ได้กล่าวในช่วงพิธีเปิดว่า การจัดงานในครั้งนี้แสดงถึงบทบาทสำคัญของมหาวิทยาลัยทักษิณในฐานะศูนย์กลางการสร้างองค์ความรู้ นวัตกรรม และการเชื่อมโยงท้องถิ่นสู่สากล (Glocalization) พร้อมทั้งตอกย้ำพันธกิจของมหาวิทยาลัยในการเป็น “ตัวเร่งการเปลี่ยนแปลง” ทางสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม ด้วยการขับเคลื่อนนวัตกรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งในและต่างประเทศ
งาน “Southern Innovation Festival 2025” จัดขึ้นระหว่างวันที่ 17-19 กรกฎาคม 2568 ณ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา เป็นเวทีสำคัญในการสร้างเครือข่ายวิจัยและนวัตกรรม พัฒนาท้องถิ่นสู่ความยั่งยืน และเชื่อมโยงสู่ระดับสากลต่อไป