วันที่ 14 พ.ค. 67 เวลา 14.00 น. นายเอก ยังอภัย ณ สงขลา นายอำเภอหาดใหญ่ เป็นประธานการขับเคลื่อนการดำเนินงานโครงการหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) อำเภอหาดใหญ่ โดยมีนางอารียา สุวรรณรัตน์ พัฒนาการอำเภอหาดใหญ่ คณะกรรมการขับเคลื่อนการดำเนินงานโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) อำเภอหาดใหญ่ และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมการประชุมฯ ณ ร้านมะม่วงเบาคาเฟ่ ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
โดยมีวาระการประชุมเกี่ยวกับรายงานผลการดำเนินงานโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์อำเภอหาดใหญ่ ประจำปี 2567 , การขับเคลื่อนโครงการ “ ผ้าไทยใส่ให้สนุก ” ตามพระราชดำริสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา , การประกวดสุดยอดผ้าจังหวัดสงขลา ประจำปี 2567 ในวันที่ 7 พฤษภาคม 2567 โดยให้ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP หรือช่างทอผ้า ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัด ส่งผ้าเข้าประกวด เพื่อเป็นการส่งเสริมการจำหน่ายผ้าไทยของจังหวัดสงขลา และเพิ่มศักยภาพของผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ให้ได้รับการยกระดับมาตรฐานการ พัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน OTOP พร้อมทั้งเป็นการประชาสัมพันธ์สร้างภาพลักษณ์สินค้า OTOP ให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย ซึ่งอำเภอหาดใหญ่ได้ดำเนินการจัดส่งผ้าเข้าร่วมประกวด จำนวน 2 ผืน ได้แก่ ผ้าบาติก-มัดย้อม ลายดอกรักราชกัญญา สีธรรมชาติ (ต้นคราม,ใบหูกวาง) และผ้าบาติก-มัดย้อม ลายดอกรักราชกัญญา สีธรรมชาติ (เปลือกมังคุด,ใบหูกวาง) ผลงานของอาจารย์ชาญวิทย์ ดารามิตร ผู้ผลิต/ ผู้ประกอบการ “หาดใหญ่บาติก” , โครงการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ OTOP และสินค้าชุมชน ด้วยจังหวัดสงขลา โดยสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสงขลา ร่วมกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา กำหนดดำเนินโครงการอบรมพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ OTOP และสินค้า ชุมชน เพื่อที่จะมุ่งเน้นให้ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ ประเภทผ้า ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เข้าถึงกระบวนการพัฒนาโดยผู้เชี่ยวชาญการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการออกแบบ จากนักออกแบบและดีไซเนอร์ อีก ทั้งได้ศึกษาเรียนรู้จากกลุ่มและเสริมสร้างเศรษฐกิจฐานรากจังหวัดสงขลา สู่ความยั่งยืน โดยมีกลุ่มเป้าหมายประกอบด้วยกลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการประเภทผ้า เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน เจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วน จังหวัดสงขลา คณะอาจารย์ที่ปรึกษาการพัฒนาผ้าจังหวัดสงขลา รวมทั้งสิ้น จำนวน 80 คน ระหว่างวันที่8,13 พฤษภาคม 2567 ณ จังหวัดเลย นครพนม สกลนคร และพระนครศรีอยุธยา ซึ่งอำเภอหาดใหญ่มีกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการ จำนวน 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผ้ามัดย้อมเปลือกมังคุด และ กลุ่มตลาดน้ำคลองแห้ รวมทั้งสิ้น 6 คน , แพลตฟอร์มบริการดิจิทัล Click ชุมชน กรมการพัฒนาชุมชมได้พัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัล Click ชุมชน “เรียน รู้ ดู เที่ยว ทั่วไทย” มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ประโยชน์ในการวางแผนพัฒนาคุณภาพชีวิต กระตุ้นเศรษฐกิจชุมชน สร้างอาชีพสร้างรายได้ เพิ่มความรู้ และส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน ประกอบด้วย ๑๓ เมนู ได้แก่ 1) Shopชุมชน 2) OTOP Today 3) กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี 4) ความรู้ชุมชน 5) ปราชญ์ชุมชน 6) มีทุน 7) 108อาชีพ CDD พาเที่ยว 9) โคกหนองนา 10) Do คนไทย 11) DO ชุมชน 12) Big Data และ 13) เชื่อมชุมชน Shop ชุมชน เป็นแหล่งรวมสินค้า OTOP ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เป็นเมนูที่ให้บริการสำหรับผู้ประกอบการ ในการจำหน่ายสินค้า Online ซึ่งปัจจุบันอำเภอหาดใหญ่มีผู้ประกอบการเข้าใช้งานแล้ว จำนวน 15 ราย ได้แก่ 1) ปลากรอบโชกุน 2)แฮนด์เมด292 3)บริษัทสยามเซนส์ จำกัด 4)ไข่มุกสงขลา 5)สมุนไพรสุทธิชาติ 6)จันทนีย์หมี่กะทิ 7)น้ำแกงส้มตราแม่เยาว์ วิสาหกิจชุมชนบ้านเห็ด NP 9) ลุ่มแม่บ้านเกษตรรักษ์โตน 10) กอร์ตานี 11)ครัวแม่วันทนา 12) หจก.ยอดรส 13) วุฒิไทยประดิษฐ์ 14) Betreat และ15) อนันดาบาติก
