วันเสาร์, 19 กรกฎาคม 2568

นักวิจัยคณะวิทยาศาสตร์ ม.อ. ชี้ !!! วิกฤตหมอกควันไฟจากประเทศเพื่อนบ้านน่าเป็นห่วง แนะประชาชนในพื้นที่สงขลา งดออกกำลังกายกลางแจ้งเฝ้าระวังผู้สูงอายุควรสวมหน้ากากอนามัย

26 ก.ค. 2024
33

อาจารย์ประจำหลักสูตรฟิสิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์กายภาค คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จากการได้ติดตามข้อมูลและเฝ้าระวังสภาพอากาศอย่างใกล้ชิด เผยข้อมูลที่น่าเป็นห่วงในช่วง 1 สัปดาห์ที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน จะเห็นค่า PM 2.5 สูงเข้าขั้นวิกฤต ในพื้นที่จังหวัดสงขลารวมถึงภาคใต้ตอนล่าง โดยได้เผยข้อมูลสำคัญจากการติดตามเรดาห์ตลอด 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา ชี้ฝุ่นควันการเผาไหม้จากบริเวณเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย เป็นปัจจัยสำคัญ พร้อมแนะหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้ความรู้ประชาชนให้ป้องกันอันตรายจาก PM 2.5 ให้เตือนประชาชนในพื้นที่จังหวัดสงขลาและภาคใต้ตอนล่าง งดออกกำลังการกลางแจ้งเฝ้าระวังผู้สูงอายุควรสวมหน้ากากอนามัย โดยจากการเก็บข้อมูลในช่วงวันที่ 24 กรกฎาคมที่ผ่านมา จากเรดาห์ย่านเมืองเก่าจังหวัดสงขลาพบค่า PM 2.5 ที่ 80 และสูงสุดอยู่ที่ 153 ซึ่งถือว่าเข้าขั้นวิกฤต รวมถึงเรดาห์บริเวณพื้นที่คอหงส์ พบ ค่า PM 2.5 ที่ 87 และสูงสุดอยู่ที่ 178 ซึ่งแรงลมมีผลต่อสำคัญต่อสภาพอากาศ โดยเมื่อดูข้อมูลรวมของเดือนกรกฎาคม จะเห็นว่าช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมานั้น คุณภาพอากาศจากข้อมูลจะอยู่ในโซนสีแดง ซึ่งเป็นเรื่องที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรออกเตือนประชาชนในพื้นที่

ทั้งนี้ Asst. Prof. Dr. HELMUT JOSEF DURRAST ได้กล่าวพร้อมข้อมูลเรื่องลม จะเห็นจากการเก็บข้อมูลเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคมที่ผ่านมา ว่าในช่วงนี้ แรงลมพัดจากทางประเทศอินโดนีเซีย ผ่านอ่าวไทยไปทางใต้ตอนบน เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลจากเรดาห์ จะเห็นชัดเจนว่าภาคใต้ตอนล่างนั้น ลมพัดน้อย ปริมาณการระบายออกของ PM2.5 ยังคงอยู่ในพื้นที่ ซึ่งเป็นอันตรายอย่างมากต่อประชาชน ซึ่งปริมาณฝุ่นควันในโซนสีแดง เราสามารถสังเกตใต้ผ่านสายตา ซึ่งจากการได้ถ่ายภาพมุมสูงจากเขาเล่ จุดชมวิวมุมสูง อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลาในช่วงเที่ยงของวันที่ 25 กรกฎาคมที่ผ่านมา ปริมาณหมอกควันสามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่าและเข้าขั้นวิกฤต ซึ่งต้องเฝ้าระวังแรงลม และสภาพอากาศ ทุก ๆ ระยะ ซึ่งคาดเดาไม่ได้ว่าวิกฤตดังกล่าวจะบรรเทาลงได้ในช่วงเวลาใด เนื่องจากตัวแปรสำคัญคือ การเผาไหม้จากบริเวณเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย

โดยผลกระทบการเผาไหม้จากบริเวณเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย เกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี ซึ่งกระทบไปยังประเทศมาเลเซีย และ สิงคโปร์ เนื่องจากช่องโหว่ด้านกฎระเบียบทำให้ยากสำหรับหน่วยงานต่าง ๆ ที่จะลดการจุดไฟเพื่อแผ้วถางพื้นที่เกษตรกรรมของอินโดนีเซีย โดยจากการเก็บข้อมูลในหน่วยงานรัฐบาลที่ได้รับผลกระทบพบว่า ไฟดังกล่าวได้เผาพื้นที่หลายล้านไร่ในอินโดนีเซีย และส่งหมอกควันปกคลุมหลายประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงเป็นประวัติการณ์

 

นักวิจัยคณะวิทยาศาสตร์ ม.อ. ร่วมรับรางวัลแห่งความภาคภูมิใจ งานคุณค่าสงขลานครินทร์ ประจำปี 2567

14 มี.ค. 2024
67

วันนี้ (พุธที่ 13 มีนาคม 2567) คณาจารย์และนักวิจัยคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เข้าร่วมรับรางวัลแห่งความภาคภูมิใจในงาน “คุณค่าสงขลานครินทร์ ประจําปี 2567” (PRIDE OF PSU 2024) ซึ่งเป็นวันสถาปนามหาวิทยาลัย กำหนดให้มีขึ้นในวันที่ 13 เดือนมีนาคม ของทุกปี โดย ผศ. ดร.นิวัติ แก้วประดับ อธิการบดี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นประธานกล่าวเปิดงาน รศ. ดร.อุดมผล พืชน์ไพบูลย์ รองอธิการบดีฝ่ายทรัพยากรบุคคลและกิจการพิเศษ กล่าวรายงาน พร้อมด้วยผู้บริหารมหาวิทยาลัย คณาจารย์ นักวิจัย บุคลากร และนักศึกษา เข้าร่วมงาน ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

โดยในปีนี้มีคณาจารย์และนักวิจัยคณะวิทยาศาสตร์ เข้าร่วมรับรางวัลไม่ว่าจะเป็น รางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น รางวัลอาจารย์ตัวอย่าง อาจารย์ตัวอย่างรุ่นใหม่ และผลงานดีเด่น รางวัลนักวิจัยที่มีจำนวนผลงานตีพิมพ์สูงสุด 5 อันดับแรก ด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ และวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากฐานข้อมูล Scopus รางวัลผู้ผ่านการประเมินตามกรอบมาตรฐานสมรรถนะอาจารย์ ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (PSU-TPSF) ระดับสามัตถิยาจารย์ (Scholarly Teacher) และผ่านการประเมินตามกรอบมาตรฐานสมรรถนะอาจารย์ของอังกฤษ (UK-PSF) ระดับ Senior Fellow รางวัลผู้ผ่านการประเมินตามกรอบมาตรฐานสมรรถนะอาจารย์ ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (PSU-TPSF) ระดับสามัตถิยาจารย์ (Scholarly Teacher) ซึ่งสร้างความภาคภูมิใจแก่ผู้เข้าร่วมเป็นอย่างมาก

นักวิจัยคณะวิทยาศาสตร์ ม.อ. ลงพื้นที่เขาเล่ อำเภอสะเดา เพื่อสำรวจความน่าสนใจทางธรณีวิทยา

05 มี.ค. 2024
38

เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2567 สำนักงานเทศบาลเมืองสะเดา ได้ทำหนังสือถึงคณะวิทยาศาสตร์ ม.อ. ในการสำรวจทางธรณีวิทยาบริเวณ เขาเล่ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา โดยได้รับการต้อนรับจาก นายกเทศมนตรีเมืองสะเดา นายวัชชพล ปริสุทธ์กุล พร้อมเจ้าหน้าที่ พาสำรวจเขาเล่ โดยนักวิจัยทางด้านธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ ม.อ. Asst. Prof. Dr. HELMUT JOSEF DURRAST พร้อมนักศึกษาลงพื้นที่สำรวจในครั้งนี้

ด้าน Asst. Prof. Dr. HELMUT JOSEF DURRAST ได้กล่าวว่า การสำรวจพื้นที่ในครั้งนี้ ถือเป็นเรื่องน่าศึกษาเรียนรู้ทั้งในเรื่องของธรณีวิทยาโดยรอบเขาเล่ หินชนิดต่าง ๆ รวมถึงการเกิดขึ้นของเขาเล่ จนเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ ต้องขอบคุณทางนายกเทศมนตรีเมืองสะเดา และเจ้าหน้าที่ ที่พาชมด้วยตัวเองในครั้งนี้ และคิดว่าในอนาคตจะมีการทำงานร่วมกันในด้านการสำรวจและอนุรักษ์ต่อไป

นักวิจัยคณะวิทยาศาสตร์ ม.อ. ร่วมโต๊ะรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ร่วมประชุมรับฟัง Dinner Talk ผลักดันธุรกิจยางพาราให้มีมูลค่าเพิ่มและส่งเสริมการส่งออกต่อไป

25 ธ.ค. 2023
60

เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม ที่ผ่านมา รศ.ดร.เอกวิภู กาลกรณ์สุรปราณี นักวิจัยคณะวิทยาศาสตร์ ม.อ. ร่วมประชุมรับฟัง Dinner Talk กับนายนภินทร ศรีสรรพางค์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ พร้อมนักวิชาการ และนักวิจัยพร้อมรองศาสตราจารย์ อาซีซัน แกสมาน, ดร.กานดา เซ่งลอยเลื่อน, ผู้แทนบริษัท Startup GEEFIN Rubber, ผู้แทนบริษัท SME แปรรูป 42 Natural Rubber กลุ่มวิสาหกิจผู้ผลิต ผลิตภัณฑ์ยางสหกรณ์รัตภูมิและผู้ประกอบยางแผ่นคอกปศุสัตว์ ผู้แทนสถาบันเกษตรกรผู้แปรรูปยางเพื่อการสร้างมูลค่าหลากหลายบริษัทเข้าร่วมการหารือซึ่งนายนภินทร ได้กล่าวขอบคุณที่คณะอาจารย์ นักวิจัย ที่ได้ให้เกียรติมาบอกเล่าถึงความก้าวหน้าในผลงานวิจัยที่เปลี่ยนเป็นเศรษฐกิจที่จับต้อง กินได้และค้าขายได้ จากศักยภาพวัตถุดิบที่เราได้เปรียบในทางเศรษฐกิจ เพื่อการสร้างผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มมูลค่าอย่างไร้ขีดจำกัดจากฐานทรัพยากรของประเทศที่เรามีคือจุดแข็งของประเทศไทย

รมช.พาณิชย์ กล่าวอีกว่า ตนเห็นโอกาสความก้าวหน้า ความตั้งใจที่มุ่งมั่นของคณะอาจารย์และนักวิจัยรวมถึงผู้ประกอบการที่ได้พัฒนา สร้างนวัตกรรม ผลิตภัณฑ์จากยางพาราใหม่ๆจากผลงานวิจัยที่มีฐานมาจากยางพาราของประเทศ ซึ่งสามารถที่จะนำไปใช้ประโยชน์ในธุรกิจด้านปศุสัตว์ การเพิ่มผลผลิต มีวัสดุชิ้นงานที่เป็นนวัตกรรมใหม่ๆ ไปสร้างเป็นชิ้นงานที่เพิ่มค่าได้อย่างมหาศาล

“ฐานะของกระทรวงพาณิชย์ ก็จะส่งเสริมสนับสนุนให้สินค้าเหล่านี้มีโอกาสได้ออกสู่การบริโภค มีโอกาสให้หน่วยงานในภาครัฐต่างๆ ได้ใช้ระบบของโอกาสแต้มต่อเพื่อให้ สินค้าเหล่านี้ได้ถูกพิจารณาการจัดซื้อจัดจ้างก่อนใครในช่องทางบัญชีนวัตกรรมหรือช่องทางพิเศษของแต้มต่อ เพื่อการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการได้มีทุนหมุนเวียนมีกำลังใจสร้างานสร้างผลิตภัณฑ์ ภายใต้การส่งเสริมให้ผู้ประกอบการก้าวเดินไปให้ได้ และร่วมกับกระทรวงการอุดมศึกษาฯ เพื่อส่งเสริมหารือช่องทางให้ผลิตภัณฑ์ งานวิจัย นวัตกรรมจากยางพารามีโอกาสช่องทางได้เข้าสู่การบริโภค เพื่อให้ผู้ประกอบการรุ่นใหม่มีกำลังใจ มีการสร้างสรรค์อย่างไม่หยุดนิ่งต่อไป มีช่องทางเรื่องเงินทุน มีช่องทางทางการตลาด” นายนภินทรกล่าว

ด้าน รศ.ดร. เอกวิภู กาลกรณ์สุรปราณี ในฐานะผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนานวัตกรรมยางพารา และนักวิจัยคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวว่า เป็นโอกาสที่ดีที่รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ให้ความสนใจในเรื่องการเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรโดยเฉพาะยางพารา ซึ่งศักยภาพของประเทศไทยเรามีสูงมากเพราะเป็นแหล่งผลิตวัตถุดิบต้นน้ำที่ใหญ่ที่สุดของโลก เรามีนักวิจัยด้านยางเป็นที่ยอมรับสูงในแวดวงวิชาการด้านโพลิเมอร์ยางของมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก เราผลิตบัณฑิตด้านนี้ปีหนึ่ง 70-80 คน เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการให้เขาได้สร้างกำลังทางเศรษฐกิจของประเทศ